หน้าที่ของสถานศึกษา

งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีbilateral vocational education section หน้าที่ของสถานศึกษา สถานศึกษา ให้การสนับสนุนทรัพยากรในการบริหารจัดการ การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ส่งเสริมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบเครือข่ายในการประสานงานร่วมกับสถานประกอบการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย สร้างนวัตกรรมและงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ปรับปรุงข้อมูลโดย : งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

ขั้นตอนการฝึกงาน/การฝึกอาชีพ

งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีbilateral vocational education section ขั้นตอนการฝึกงาน/ฝึกอาชีพ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ร่างคำสั่งขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโดยมีรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการเป็นประธานกรรมการ,หัวหน้าสาขาวิชาทุกสาขาวิชาเป็นกรรมการหัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเป็นกรรมการและเลขานุการ งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เสนอร่างคำสั่งต่อผู้อำนวยการเพื่อขออนุมัติลงนามแต่งตั้งตามคำสั่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานเชิญคณะกรรมการทุกท่านร่วมประชุมกำหนดแนวทางและทิศทางในการดำเนินงานการฝึกงาน/ฝึกอาชีพของนักเรียน/นักศึกษา ตามคำร้องของนักเรียน/นักศึกษา งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สำรวจและติดต่อสถานประกอบการตามที่นักเรียน/นักศึกษา ได้เขียนคำร้องขอฝึกงาน/ฝึกอาชีพไว้ งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกับสาขาวิชาในการกำหนดรายวิชาที่จะออกไปฝึกงาน/ฝึกอาชีพ ในสถานประกอบการของนักเรียน/นักศึกษา งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีจัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์หนังสือส่งตัวนักเรียน/นักศึกษาออกฝึกงาน/ฝึกอาชีพ ในสถานประกอบการให้สาขาวิชา และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการรับรองและเสนอผู้อำนวยการอนุญาตส่งตัวต่อไป งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ร่วมกับหัวหน้าสาขาวิชากำหนดครูผู้ทำการนิเทศและติดตามการฝีกงาน/ฝึกอาชีพ ในสถานประกอบการของแต่ละสาขาวิชา ครูผู้นิเทศและติดตามออกนิเทศและติดตามเพื่อรับทราบปัญหา ข้อขัดข้อง อุปสรรคต่างๆ ของนักเรียน/นักศึกษา ฝึกงาน/ฝึกอาชีพ ในสถานประกอบการ งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ร่วมกับสาขาวิชาในการกำหนดการสัมมนาการฝึกงาน/ฝึกอาชีพเพื่อติดตาม,ตรวจสอบ,ดูแล นักเรียน/นักศึกษา ฝึกงาน/ฝึกอาชีพในสถานประกอบการ ครูผู้นิเทศและติดตาม, ครูประจำวิชา และหัวหน้าสาขาวิชา สรุปผลคะแนนของการฝึกงาน/ฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักเรียน/นักศึกษาส่งในงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี รวบรวมสรุปคะแนนการฝึกงาน/ฝึกอาชีพ ในสถานประกอบการของนักเรียน/นักศึกษา […]

การฝึกงาน/การฝึกอาชีพ

งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีbilateral vocational education section การฝึกงาน/การฝึกอาชีพ การฝึกงาน เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับภาคการผลิตหรือภาคบริการหลังจากผู้เรียนได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกหัดปฏิบัติเบื้องต้นในสถานศึกษาแล้วระยะหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับการปฏิบัติงานอาชีพ เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ทันสมัยและบรรยากาศการทำงานทางธุรกิจที่ต้องแข่งขันในการรักษาคุณภาพ และมาตรฐานของงาน รวมทั้งการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเกิดความมั่นใจและ เจตคติที่ดีในการทำงานและการประกอบอาชีพอิสระ เพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพของนักเรียน นักศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงได้กำหนดหลักการฝึกงานดังนี้ 1. เป็นการจัดฝึกประสบการณ์อาชีพให้กับผู้เรียนในระบบ  ที่เน้นการศึกษาในสถานศึกษาเป็นหลัก2. เป็นการจัดฝึกประสบการณ์งานอาชีพตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง3. เป็นการจัดฝึกประสบการณ์งานอาชีพ โดยเน้นการสร้างระบบครือข่าย  และการมีส่วนร่วม ในการจัดการอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ     ชุมชน ท้องถิ่น และเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศทั้งนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา4. เป็นการจัดฝึกประสบการณ์งานอาชีพที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ […]

ความหมายระบบทวิภาคี

งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีbilateral vocational education section DVE คืออะไร? https://youtu.be/miVYLFtnVBM Dual Vocational Education (DVE) 1.  การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี หมายถึง        ‘ทวิภาคี’ แปลว่า “สองฝ่าย” ซึ่งหมายถึง สถานประกอบการและโรงเรียน เยาวชนที่เข้าร่วมฝึกอาชีพในโครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีนั้นจะมี 2 สถานภาพในบุคคลเดียวกัน คือ เป็นนักเรียน นักศึกษาในโรงเรียน และในขณะเดียวกันก็เป็นพนักงานฝึกอาชีพของสถานประกอบการด้วยการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาด้านอาชีพอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการศึกษาในระบบนี้ผู้เรียนหรือผู้ฝึกหัด (Trainee) จะต้องเรียนรายวิชาสามัญ รายวิชาชีพพื้นฐาน โดยเรียนและฝึกปฏิบัติเบื้องต้น ที่สถานศึกษา 2.  วัตถุประสงค์ของการฝึกอาชีพ       2.1  เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ       2.2  เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทันต่อเทคโนโลยี ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ       […]